วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและการนับจังหวะการเต้นบีกินและชา ชา ช่า

จังหวะ บีกิน (Beguine)
  • เป็นจังหวะลีลาศประเภทเบ็ดเตล็ด มีลักษณะการเต้นรำรูปแบบเดียวกับจังหวะประเภทลาตินอเมริกัน
  • นิยมเต้นรำกันมากในงานสังคมลีลาศทั่วไปของประเทศไทย จังหวะบีกินเป็นจังหวะที่ฝึกหัดง่าย
  • ในการฝึกลีลาศเบื้องต้น สังคมไทยจึงนิยมที่จะฝึกจังหวะบีกินเป็นจังหวะแรก เพราะทำให้ผู้ฝึกเต้นรำเกิดความมั่นใจ ก่อนที่จะฝึกเต้นรำในจังหวะที่ยากต่อไป
  • การเต้นรำจังหวะบีกินมีรูปแบบและลวดลาย (Figures) แตกต่างกันไป การเดินจังหวะบีกิน จะเน้นการวางฝ่าเท้าถึงพื้นก่อนวางราบลงเต็มเท้าในลักษณะเดียวกับจังหวะประเภทลาตินอเมริกัน 

 ลักษณะการเดิน เป็นการเดินแบบธรรมดา
1.               เดินหน้า - จะลงน้ำหนักที่สันเท้าก่อน แล้วถ่ายน้ำหนักไปยังกลางเท้าและปลายเท้า
2.               เดินถอยหลัง - ก็จะลงน้ำหนักที่ปลายเท้าแล้วถ่ายน้ำหนักไปยังกลางเท้าและสันเท้า 

รูปแบบพื้นฐานการนับจังหวะบีกิน
  • การนับจังหวะ
แบบ 4/4 ( มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง)
สามจังหวะแรก เป็นเสียงหนัก จังหวะที่ 4 เป็นเสียงเบา จะนับ 1 , 2 , 3 , แตะ หรือ 1 , 2 , 3 , พัก ( จังหวะแตะ หรือ พัก หมายถึง การงอเข่า   แตะปลายเท้าไว้ที่พื้นไม่วางเต็มเท้า)
ความช้า - เร็ว ของจังหวะทุกจังหวะจะเท่ากันหมด  ความเร็วประมาณ 28 – 32 ห้องเพลงต่อนาที

  • การจับคู่
เป็นการจับคู่แบบบอลรูมปิด จังหวะประเภทลาตินอเมริกัน  
  • การยืน
ยืนหันหน้าเข้าหาคู่เต้นรำ ผู้ชาย ยืนหันหน้าตามแนวเต้นรำ ผู้หญิง ยืนหันหน้าย้อนแนวเต้นรำ

  • การก้าวเท้า
ใช้การก้าวเท้าไปข้างหน้าและการถอยเท้าไปข้างหลัง ฝ่าเท้าถึงพื้นก่อนวางราบลงเต็มเท้า เท้าที่รับน้ำหนักตัวเข่าจะเหยียดตึง เท้าที่กำลังก้าวเข่าจะงอสลับกันไปมา สะโพกบิดอย่างเป็นธรรมชาติและสวยงามจากการถ่ายน้ำหนักลงที่เท้า ศีรษะตรง ลำตัวนิ่ง

การเดินขั้นต้น (Basic Walk) ชาย
จังหวะในการนับ มี 3 จังหวะกับอีก 1 พัก
การยืน : ยืนหันหน้าตามแนวลีลาศ หน้าตรง ตัวตรงเท้าชิด
การจับคู่ จับแบบปิด (Close)
เริ่ม        
ก้าวที่  1  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้านับ  1
ก้าวที่  2  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า นับ  2
ก้าวที่  3  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า  นับ  3
เมื่อก้าวไปครบ 3 ก้าวแล้ว รอจังหวะพัก โดยการกระตุกเข่าขวาขึ้น งอเข่าส้นเท้าเปิด ปลายเท้าแตะพื้น จังหวะพักนี้บางคนนับ 4 ก็ได้
การเดินขั้นต้น (Basic Walk) หญิง 
การยืน  : ยืนหันหน้าเข้าหาคู่ (ย้อนแนวลีลาศ)
การจับคู่ จับแบบปิด (Close)
เริ่ม
ก้าวที่  1  ก้าวเท้าขวาถอยหลังนับ  1 
ก้าวที่  2  ก้าวเท้าซ้ายถอยหลัง  นับ  2   
ก้าวที่  3  ก้าวเท้าขวาถอยหลัง  นับ  3
เมื่อก้าวไปครบ 3 ก้าวแล้ว รอจังหวะพัก โดยการกระตุกเข่ซ้ายขึ้น งอเข่า ส้นเท้าเปิด ปลายเท้าแตะพื้น จังหวะพักบางคนนับ 4 ก็ได้
การหมุนขวา (Right Turn) ชาย
ทำต่อจากการเดินขั้นต้น โดยหมุนออกทางซ้ายแล้วก็หมุนกลับมาทางข้างขวา เรียกว่า Right Turn หรือจะทำต่อจากก้าวออกข้างก็ได้
ชายจะหมุนไปทางซ้ายก่อนเสมอ
หมุนขวาเริ่ม
1.               ก้าวที่  1  บิดปลายเท้าขวาและลำตัวออกทางข้างขวามาก ๆ  แล้ววางเท้าลง (ส่วนมือให้ปล่อยมือใดมือหนึ่งออก มือที่จับกันให้ยกสูงเหนือศีรษะขณะหมุน ศีรษะจะลอดแขน นับ  1   
2.               ก้าวที่  2 ยกเท้าซ้ายบิดไปทางขวาพร้อมกับลำตัวไปวางลงทางข้างซ้าย นับ  2   
3.               ก้าวที่  3 ยกเท้าขวาบิดปลายเท้าและลำตัวไปวางทางข้างขวาให้ปลายเท้าและ หน้ากลับสู่ทิศทางเดิม คือย้อนแนวลีลาศแล้ววางเท้าลง  นับ  3   พัก เข่าซ้ายต่อไปเริ่มหมุนซ้ายใหม่ หรือจะต่อด้วยแบบอื่น 

การหมุนซ้าย (Left Turn) หญิง

ทำต่อจากการเดินขั้นต้นโดยหมุนออกทางขวาหนึ่งรอบ แล้วก็หมุนกลับมาทางซ้ายหนึ่งรอบ เรียกว่า Left and Right Turn หรือจะทำต่อจากก้าวออกข้างก็ได้
หญิงจะหมุนไปทางขวาก่อนเสมอแล้วจึงหมุนซ้าย สลับกันไป 
หมุนซ้ายเริ่ม
  • ก้าวที่ 1 บิดปลายเท้าซ้ายและลำตัวออกทาง ข้างซ้ายมากๆ แล้ววางเท้าลง (ส่วนมือให้ปล่อยมือใดมือหนึ่งออก มือที่จับกันให้ยกสูงเหนือศีรษะขณะหมุนศีรษะจะลอดแขน) นับ  1   
  • ก้าวที่  2 ยกเท้าขวาพร้อมกับหมุนลำตัวไปทางซ้ายวางเท้าลงข้างขวา นับ  2   
  • ก้าวที่  3 ยกเท้าซ้ายพร้อมกับหมุนตัวตามไปให้ใบหน้าและเท้ากลับสู่ทิศทางเดิม คือย้อนแนวลีลาศแล้ววางเท้าลง นับ  3  พักเข่าขวาจบแล้วก็ทำแบบอื่นต่อไปโดยการก้าวเท้าขวา 

จังหวะชา ชา ช่า (CHA CHA CHA)
  • จังหวะชา ชา ช่า ได้รับการพัฒนามาจาก จังหวะแมมโบ้ (MAMBO)  
  • เป็นจังหวะลาตินที่คนส่วนมากชอบที่จะเลือกเรียนรู้เป็นอันดับแรก
  • ชื่อของจังหวะนี้ ตั้งขึ้นโดยการเลียนเสียงของรองเท้าขณะที่กำลังเต้นรำของสตรีชาวคิวบา
  • จังหวะ ชา ชา ช่า ได้ถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกาและระบาดเข้าไปในยุโรป เกือบจะเป็นเวลาเดียวกัน กับจังหวะแมมโบ้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
  • จังหวะแมมโบ้ได้เสื่อมความนิยมลงไป โดยหันมานิยมจังหวะ ชา ชา ช่า ซึ่งกลายเป็นความนิยมอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ. 1956
  • ดนตรีของจังหวะ ชา ชา ช่า ควรเล่นด้วยอารมณ์ความรู้สึก ปราศจากความตึงเครียดใดๆ ร่วมด้วยลักษณะการกระแทกกระทั้นของจังหวะที่ทำให้นักเต้นรำสามารถที่จะสร้างบรรยากาศที่ขี้เล่น และซุกซน
  • เมื่อไม่นานมานี้ เป็นที่ตกลงกันไว้ว่า ให้ตัดทอนชื่อให้สั้นลง เป็น ชา ช่า (CHA CHA)

ลักษณะเฉพาะของ จังหวะ ชา ชา ช่า
  • เอกลักษณ์เฉพาะ กระจุ๋มกระจิ๋ม เบิกบาน การแสดงความรักใคร่การเคลื่อนไหว อยู่คงที่ คู่เต้นรำเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม และ ร่วมทิศทางเดียวกัน
  • ห้องดนตรี 4/4ความเร็วต่อนาที 30 บาร์ 

การสื่อความหมายของจังหวะ ช่า ช่า ช่า
  • ความสำคัญของจังหวะนี้อยู่ที่ ขา และ เท้า โครงสร้างของการจัดท่าเต้นไม่ควรให้มีการเคลื่อนที่มากนัก และต้องมีความสมดุลที่ผู้ชมสามารถจะเข้าใจในรูปแบบและติดตามทิศทางได้ สิ่งที่ควรใส่ใจอย่างยิ่ง ควรมุ่งเน้นไปที่ “จังหวะเวลา” ของการเคลื่อนไหวในแต่ละท่าทาง

การเดินขั้นต้นนับ 10 ชาย (Basic Walk)            
การยืน  ยืนจับคู่แบบปิดหันหน้าตามแนวลีลาศ
เริ่ม
ก้าวที่  1  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า    นับ  1  ช้า
ก้าวที่  2  วางเท้าขวาลงที่เดิม      นับ  2   ช้า
ก้าวที่  3  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง    นับ  3  เร็ว
ก้าวที่  4  ถอยเท้าขวาไปข้างหลังสั้น ๆ    นับ  4  เร็ว
ก้าวที่  5  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลังสั้น ๆ   นับ  5  เร็ว
ก้าวที่  6  ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง    นับ  6  ช้า
ก้าวที่  7  ถอยเท้าซ้ายลงที่เดิม   นับ  7  ช้า
ก้าวที่  8  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า   นับ  8  เร็ว
ก้าวที่  9  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าสั้น ๆ    นับ  9  เร็ว
ก้าวที่  10  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าสั้น ๆ   นับ  10  เร็ว
เมื่อทำครบ  10  ก้าวแล้วก็ทำตั้งแต่ 1 ถึง 10 ใหม่หลาย ๆ  เที่ยว

การเดินขั้นต้นนับ 10 หญิง (Basic Walk)
การยืน  ยืนหันหน้าเข้าหาคู่แบบปิดหันหน้าตามแนวลีลาศ
เริ่ม
ก้าวที่  1  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง  นับ  1  ช้า
ก้าวที่  2  วางเท้าซ้ายลงที่เดิม    นับ  2  ช้า
ก้าวที่  3  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า     นับ  3  เร็ว
ก้าวที่  4 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าสั้นๆ  นับ  4  เร็ว
ก้าวที่  5  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าสั้น ๆ   นับ  5  เร็ว
ก้าวที่  6  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า    นับ  6  ช้า
ก้าวที่  7  วางเท้าขวาลงที่เดิม    นับ  7  ช้า
ก้าวที่  8  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง    นับ  8  เร็ว
ก้าวที่  9  ถอยเท้าขวาไปข้างหลังสั้นๆ  นับ  9  เร็ว
ก้าวที่  10  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลังสั้น ๆ    นับ  10  เร็ว
เมื่อทำครบ  10  ก้าวแล้วก็ทำตั้งแต่ 1 ถึง 10 ใหม่หลาย ๆ  เที่ยว

จังหวะแทงโก้ (Tango)
  • เป็นจังหวะหนึ่งที่จัดอยู่ในสี่จังหวะมาตรฐาน (Four Standard Dances)
  • เป็นจังหวะที่เก่าแก่พอๆ กับจังหวะวอลซ์
  • มีแม่แบบเป็นจังหวะมิรองก้า (Milonga)
  • ในตอนต้นศตรวรรษที่ 20 ได้มีการเต้นรำจังหวะมิรองก้า โดยเหล่าชนชั้นสูงจากบราซิล
  • ชื่อของจังหวะนี้จึงเปลี่ยนจาก มิรองก้า เป็น แทงโก้
  • จังหวะแทงโก้ได้ถูกแนะนำสู่ทวีปยุโรป กรุงปารีส
  • แต่เนื่องจากการเต้นส่อแนวไปทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป จึงไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับ
  • ต่อมาในปี ค.ศ. 1907 จึงได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้าง ถึงได้รับการยอมรับในกรุงปารีส และลอนดอน


เอกลักษณ์เฉพาะของ จังหวะ Tango
1.               มั่นคงและน่าเกรงขาม
2.               โล่งอิสระ ไม่มีการสวิง และเลื่อนไหล
3.               มีลักษณะการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (Staccato Action)
4.               การเคลื่อนไหวเฉียบขาด
5.               อาการเปลี่ยนแปลงที่สับเปลี่ยนอย่างฉับพลันสู่ความสงบนิ่ง
6.               มีย่างก้าวที่นุ่มนวลอย่างแมว
7.               ห้องดนตรี 2/4 ความเร็วต่อนาที 33 บาร์

การจับคู่ในจังหวะTango
  • แบบบอลรูมปิดที่แตกต่างจากการจับคู่แบบปิดในจังหวะอื่น
เป็นการจับคู่ที่ค่อนข้างกระชับและลำตัวชิดกันมาก
ผู้หญิงจะยืนเยื้องหรือเหลื่อมไปทางขวาของผู้ชายเล็กน้อย
มือขวาของผู้ชายจะโอบลึกไปกลางแผ่นหลังของผู้หญิงมากกว่าจังหวะอื่นเล็กน้อย และดึงมือซ้ายให้งอเข้ามารใกล้ตัวเล็กน้อย แต่ข้อศอกยังอยู่ในระดับเดิม
ผู้หญิงจะลดระดับข้อศอกและมือขวาลงเล็กน้อย ส่วนมือซ้ายจะวางอยู่บนต้นแขนขวาตอนบนเกือบถึงหัวไหล่ และให้เลยไปทางด้านหลังเล็กน้อย
  • แบบพรอมเมอหนาด
ทั้งชายและหญิงหันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน
สะโพกขวาของชายสัมผัสกับสะโพกซ้ายของหญิง ให้สะโพกซ้ายของหญิงเยื้องไปข้างหลังสะโพกชายเล็กน้อย
ลำตัวทั้งคู่เปิดเป็นรูปตัววี

จังหวะดนตรีและการนับจังหวะTango

จังหวะดนตรี
  •  ดนตรีเป็นเป็นแบบ2/4 คือใน 1 ห้องเพลงมี 2 จังหวะ ดนตรีจะเน้นเสียงหนักทั้งจังหวะที่ 1 และจังหวะที่ 2
การนับจังหวะ
  • ในจังหวะแทงโก้มีการก้าวทั้งช้าและเร็ว โดยที่ก้าวช้าเท่ากับ 1 จังหวะ และก้าวเร็วเก่ากับ ½ จังหวะ การนับโดยทั่วๆ ไปจึงนับ ช้า, เร็ว, เร็ว, ช้า



นางสาวณัฐมนฑ์ สัมพัฒนวรชัย  ห้อง ม. 6/1 เลขที่ 17
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น