วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและการนับจังหวะการเต้นบีกินและชา ชา ช่า

จังหวะ บีกิน (Beguine)
  • เป็นจังหวะลีลาศประเภทเบ็ดเตล็ด มีลักษณะการเต้นรำรูปแบบเดียวกับจังหวะประเภทลาตินอเมริกัน
  • นิยมเต้นรำกันมากในงานสังคมลีลาศทั่วไปของประเทศไทย จังหวะบีกินเป็นจังหวะที่ฝึกหัดง่าย
  • ในการฝึกลีลาศเบื้องต้น สังคมไทยจึงนิยมที่จะฝึกจังหวะบีกินเป็นจังหวะแรก เพราะทำให้ผู้ฝึกเต้นรำเกิดความมั่นใจ ก่อนที่จะฝึกเต้นรำในจังหวะที่ยากต่อไป
  • การเต้นรำจังหวะบีกินมีรูปแบบและลวดลาย (Figures) แตกต่างกันไป การเดินจังหวะบีกิน จะเน้นการวางฝ่าเท้าถึงพื้นก่อนวางราบลงเต็มเท้าในลักษณะเดียวกับจังหวะประเภทลาตินอเมริกัน 

 ลักษณะการเดิน เป็นการเดินแบบธรรมดา
1.               เดินหน้า - จะลงน้ำหนักที่สันเท้าก่อน แล้วถ่ายน้ำหนักไปยังกลางเท้าและปลายเท้า
2.               เดินถอยหลัง - ก็จะลงน้ำหนักที่ปลายเท้าแล้วถ่ายน้ำหนักไปยังกลางเท้าและสันเท้า 

รูปแบบพื้นฐานการนับจังหวะบีกิน
  • การนับจังหวะ
แบบ 4/4 ( มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง)
สามจังหวะแรก เป็นเสียงหนัก จังหวะที่ 4 เป็นเสียงเบา จะนับ 1 , 2 , 3 , แตะ หรือ 1 , 2 , 3 , พัก ( จังหวะแตะ หรือ พัก หมายถึง การงอเข่า   แตะปลายเท้าไว้ที่พื้นไม่วางเต็มเท้า)
ความช้า - เร็ว ของจังหวะทุกจังหวะจะเท่ากันหมด  ความเร็วประมาณ 28 – 32 ห้องเพลงต่อนาที

  • การจับคู่
เป็นการจับคู่แบบบอลรูมปิด จังหวะประเภทลาตินอเมริกัน  
  • การยืน
ยืนหันหน้าเข้าหาคู่เต้นรำ ผู้ชาย ยืนหันหน้าตามแนวเต้นรำ ผู้หญิง ยืนหันหน้าย้อนแนวเต้นรำ

  • การก้าวเท้า
ใช้การก้าวเท้าไปข้างหน้าและการถอยเท้าไปข้างหลัง ฝ่าเท้าถึงพื้นก่อนวางราบลงเต็มเท้า เท้าที่รับน้ำหนักตัวเข่าจะเหยียดตึง เท้าที่กำลังก้าวเข่าจะงอสลับกันไปมา สะโพกบิดอย่างเป็นธรรมชาติและสวยงามจากการถ่ายน้ำหนักลงที่เท้า ศีรษะตรง ลำตัวนิ่ง

การเดินขั้นต้น (Basic Walk) ชาย
จังหวะในการนับ มี 3 จังหวะกับอีก 1 พัก
การยืน : ยืนหันหน้าตามแนวลีลาศ หน้าตรง ตัวตรงเท้าชิด
การจับคู่ จับแบบปิด (Close)
เริ่ม        
ก้าวที่  1  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้านับ  1
ก้าวที่  2  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า นับ  2
ก้าวที่  3  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า  นับ  3
เมื่อก้าวไปครบ 3 ก้าวแล้ว รอจังหวะพัก โดยการกระตุกเข่าขวาขึ้น งอเข่าส้นเท้าเปิด ปลายเท้าแตะพื้น จังหวะพักนี้บางคนนับ 4 ก็ได้
การเดินขั้นต้น (Basic Walk) หญิง 
การยืน  : ยืนหันหน้าเข้าหาคู่ (ย้อนแนวลีลาศ)
การจับคู่ จับแบบปิด (Close)
เริ่ม
ก้าวที่  1  ก้าวเท้าขวาถอยหลังนับ  1 
ก้าวที่  2  ก้าวเท้าซ้ายถอยหลัง  นับ  2   
ก้าวที่  3  ก้าวเท้าขวาถอยหลัง  นับ  3
เมื่อก้าวไปครบ 3 ก้าวแล้ว รอจังหวะพัก โดยการกระตุกเข่ซ้ายขึ้น งอเข่า ส้นเท้าเปิด ปลายเท้าแตะพื้น จังหวะพักบางคนนับ 4 ก็ได้
การหมุนขวา (Right Turn) ชาย
ทำต่อจากการเดินขั้นต้น โดยหมุนออกทางซ้ายแล้วก็หมุนกลับมาทางข้างขวา เรียกว่า Right Turn หรือจะทำต่อจากก้าวออกข้างก็ได้
ชายจะหมุนไปทางซ้ายก่อนเสมอ
หมุนขวาเริ่ม
1.               ก้าวที่  1  บิดปลายเท้าขวาและลำตัวออกทางข้างขวามาก ๆ  แล้ววางเท้าลง (ส่วนมือให้ปล่อยมือใดมือหนึ่งออก มือที่จับกันให้ยกสูงเหนือศีรษะขณะหมุน ศีรษะจะลอดแขน นับ  1   
2.               ก้าวที่  2 ยกเท้าซ้ายบิดไปทางขวาพร้อมกับลำตัวไปวางลงทางข้างซ้าย นับ  2   
3.               ก้าวที่  3 ยกเท้าขวาบิดปลายเท้าและลำตัวไปวางทางข้างขวาให้ปลายเท้าและ หน้ากลับสู่ทิศทางเดิม คือย้อนแนวลีลาศแล้ววางเท้าลง  นับ  3   พัก เข่าซ้ายต่อไปเริ่มหมุนซ้ายใหม่ หรือจะต่อด้วยแบบอื่น 

การหมุนซ้าย (Left Turn) หญิง

ทำต่อจากการเดินขั้นต้นโดยหมุนออกทางขวาหนึ่งรอบ แล้วก็หมุนกลับมาทางซ้ายหนึ่งรอบ เรียกว่า Left and Right Turn หรือจะทำต่อจากก้าวออกข้างก็ได้
หญิงจะหมุนไปทางขวาก่อนเสมอแล้วจึงหมุนซ้าย สลับกันไป 
หมุนซ้ายเริ่ม
  • ก้าวที่ 1 บิดปลายเท้าซ้ายและลำตัวออกทาง ข้างซ้ายมากๆ แล้ววางเท้าลง (ส่วนมือให้ปล่อยมือใดมือหนึ่งออก มือที่จับกันให้ยกสูงเหนือศีรษะขณะหมุนศีรษะจะลอดแขน) นับ  1   
  • ก้าวที่  2 ยกเท้าขวาพร้อมกับหมุนลำตัวไปทางซ้ายวางเท้าลงข้างขวา นับ  2   
  • ก้าวที่  3 ยกเท้าซ้ายพร้อมกับหมุนตัวตามไปให้ใบหน้าและเท้ากลับสู่ทิศทางเดิม คือย้อนแนวลีลาศแล้ววางเท้าลง นับ  3  พักเข่าขวาจบแล้วก็ทำแบบอื่นต่อไปโดยการก้าวเท้าขวา 

จังหวะชา ชา ช่า (CHA CHA CHA)
  • จังหวะชา ชา ช่า ได้รับการพัฒนามาจาก จังหวะแมมโบ้ (MAMBO)  
  • เป็นจังหวะลาตินที่คนส่วนมากชอบที่จะเลือกเรียนรู้เป็นอันดับแรก
  • ชื่อของจังหวะนี้ ตั้งขึ้นโดยการเลียนเสียงของรองเท้าขณะที่กำลังเต้นรำของสตรีชาวคิวบา
  • จังหวะ ชา ชา ช่า ได้ถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกาและระบาดเข้าไปในยุโรป เกือบจะเป็นเวลาเดียวกัน กับจังหวะแมมโบ้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
  • จังหวะแมมโบ้ได้เสื่อมความนิยมลงไป โดยหันมานิยมจังหวะ ชา ชา ช่า ซึ่งกลายเป็นความนิยมอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ. 1956
  • ดนตรีของจังหวะ ชา ชา ช่า ควรเล่นด้วยอารมณ์ความรู้สึก ปราศจากความตึงเครียดใดๆ ร่วมด้วยลักษณะการกระแทกกระทั้นของจังหวะที่ทำให้นักเต้นรำสามารถที่จะสร้างบรรยากาศที่ขี้เล่น และซุกซน
  • เมื่อไม่นานมานี้ เป็นที่ตกลงกันไว้ว่า ให้ตัดทอนชื่อให้สั้นลง เป็น ชา ช่า (CHA CHA)

ลักษณะเฉพาะของ จังหวะ ชา ชา ช่า
  • เอกลักษณ์เฉพาะ กระจุ๋มกระจิ๋ม เบิกบาน การแสดงความรักใคร่การเคลื่อนไหว อยู่คงที่ คู่เต้นรำเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม และ ร่วมทิศทางเดียวกัน
  • ห้องดนตรี 4/4ความเร็วต่อนาที 30 บาร์ 

การสื่อความหมายของจังหวะ ช่า ช่า ช่า
  • ความสำคัญของจังหวะนี้อยู่ที่ ขา และ เท้า โครงสร้างของการจัดท่าเต้นไม่ควรให้มีการเคลื่อนที่มากนัก และต้องมีความสมดุลที่ผู้ชมสามารถจะเข้าใจในรูปแบบและติดตามทิศทางได้ สิ่งที่ควรใส่ใจอย่างยิ่ง ควรมุ่งเน้นไปที่ “จังหวะเวลา” ของการเคลื่อนไหวในแต่ละท่าทาง

การเดินขั้นต้นนับ 10 ชาย (Basic Walk)            
การยืน  ยืนจับคู่แบบปิดหันหน้าตามแนวลีลาศ
เริ่ม
ก้าวที่  1  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า    นับ  1  ช้า
ก้าวที่  2  วางเท้าขวาลงที่เดิม      นับ  2   ช้า
ก้าวที่  3  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง    นับ  3  เร็ว
ก้าวที่  4  ถอยเท้าขวาไปข้างหลังสั้น ๆ    นับ  4  เร็ว
ก้าวที่  5  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลังสั้น ๆ   นับ  5  เร็ว
ก้าวที่  6  ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง    นับ  6  ช้า
ก้าวที่  7  ถอยเท้าซ้ายลงที่เดิม   นับ  7  ช้า
ก้าวที่  8  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า   นับ  8  เร็ว
ก้าวที่  9  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าสั้น ๆ    นับ  9  เร็ว
ก้าวที่  10  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าสั้น ๆ   นับ  10  เร็ว
เมื่อทำครบ  10  ก้าวแล้วก็ทำตั้งแต่ 1 ถึง 10 ใหม่หลาย ๆ  เที่ยว

การเดินขั้นต้นนับ 10 หญิง (Basic Walk)
การยืน  ยืนหันหน้าเข้าหาคู่แบบปิดหันหน้าตามแนวลีลาศ
เริ่ม
ก้าวที่  1  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง  นับ  1  ช้า
ก้าวที่  2  วางเท้าซ้ายลงที่เดิม    นับ  2  ช้า
ก้าวที่  3  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า     นับ  3  เร็ว
ก้าวที่  4 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าสั้นๆ  นับ  4  เร็ว
ก้าวที่  5  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าสั้น ๆ   นับ  5  เร็ว
ก้าวที่  6  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า    นับ  6  ช้า
ก้าวที่  7  วางเท้าขวาลงที่เดิม    นับ  7  ช้า
ก้าวที่  8  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง    นับ  8  เร็ว
ก้าวที่  9  ถอยเท้าขวาไปข้างหลังสั้นๆ  นับ  9  เร็ว
ก้าวที่  10  ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลังสั้น ๆ    นับ  10  เร็ว
เมื่อทำครบ  10  ก้าวแล้วก็ทำตั้งแต่ 1 ถึง 10 ใหม่หลาย ๆ  เที่ยว

จังหวะแทงโก้ (Tango)
  • เป็นจังหวะหนึ่งที่จัดอยู่ในสี่จังหวะมาตรฐาน (Four Standard Dances)
  • เป็นจังหวะที่เก่าแก่พอๆ กับจังหวะวอลซ์
  • มีแม่แบบเป็นจังหวะมิรองก้า (Milonga)
  • ในตอนต้นศตรวรรษที่ 20 ได้มีการเต้นรำจังหวะมิรองก้า โดยเหล่าชนชั้นสูงจากบราซิล
  • ชื่อของจังหวะนี้จึงเปลี่ยนจาก มิรองก้า เป็น แทงโก้
  • จังหวะแทงโก้ได้ถูกแนะนำสู่ทวีปยุโรป กรุงปารีส
  • แต่เนื่องจากการเต้นส่อแนวไปทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป จึงไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับ
  • ต่อมาในปี ค.ศ. 1907 จึงได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้าง ถึงได้รับการยอมรับในกรุงปารีส และลอนดอน


เอกลักษณ์เฉพาะของ จังหวะ Tango
1.               มั่นคงและน่าเกรงขาม
2.               โล่งอิสระ ไม่มีการสวิง และเลื่อนไหล
3.               มีลักษณะการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (Staccato Action)
4.               การเคลื่อนไหวเฉียบขาด
5.               อาการเปลี่ยนแปลงที่สับเปลี่ยนอย่างฉับพลันสู่ความสงบนิ่ง
6.               มีย่างก้าวที่นุ่มนวลอย่างแมว
7.               ห้องดนตรี 2/4 ความเร็วต่อนาที 33 บาร์

การจับคู่ในจังหวะTango
  • แบบบอลรูมปิดที่แตกต่างจากการจับคู่แบบปิดในจังหวะอื่น
เป็นการจับคู่ที่ค่อนข้างกระชับและลำตัวชิดกันมาก
ผู้หญิงจะยืนเยื้องหรือเหลื่อมไปทางขวาของผู้ชายเล็กน้อย
มือขวาของผู้ชายจะโอบลึกไปกลางแผ่นหลังของผู้หญิงมากกว่าจังหวะอื่นเล็กน้อย และดึงมือซ้ายให้งอเข้ามารใกล้ตัวเล็กน้อย แต่ข้อศอกยังอยู่ในระดับเดิม
ผู้หญิงจะลดระดับข้อศอกและมือขวาลงเล็กน้อย ส่วนมือซ้ายจะวางอยู่บนต้นแขนขวาตอนบนเกือบถึงหัวไหล่ และให้เลยไปทางด้านหลังเล็กน้อย
  • แบบพรอมเมอหนาด
ทั้งชายและหญิงหันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน
สะโพกขวาของชายสัมผัสกับสะโพกซ้ายของหญิง ให้สะโพกซ้ายของหญิงเยื้องไปข้างหลังสะโพกชายเล็กน้อย
ลำตัวทั้งคู่เปิดเป็นรูปตัววี

จังหวะดนตรีและการนับจังหวะTango

จังหวะดนตรี
  •  ดนตรีเป็นเป็นแบบ2/4 คือใน 1 ห้องเพลงมี 2 จังหวะ ดนตรีจะเน้นเสียงหนักทั้งจังหวะที่ 1 และจังหวะที่ 2
การนับจังหวะ
  • ในจังหวะแทงโก้มีการก้าวทั้งช้าและเร็ว โดยที่ก้าวช้าเท่ากับ 1 จังหวะ และก้าวเร็วเก่ากับ ½ จังหวะ การนับโดยทั่วๆ ไปจึงนับ ช้า, เร็ว, เร็ว, ช้า



นางสาวณัฐมนฑ์ สัมพัฒนวรชัย  ห้อง ม. 6/1 เลขที่ 17
  

โครงการร่วมใจเต้นเน้นสุขภาพ

1. ชื่อโครงการ
โครงการร่วมใจเต้นเน้นสุขภาพ

2. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเมื่อสังคมของเราได้เปลี่ยนไป คนในชุมชนมักละเลยการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ เพราะชีวิตและสังคมเมืองที่เร่งรีบ ในขณะที่เด็กบางกลุ่มก็หันไปหมกมุ่นอยู่กับการดูโทรทัศน์หรือท่องอินเตอร์เน็ตแทนการออกมาวิ่งเล่นออกกำลังกายอย่างเด็กสมัยก่อน แต่ถึงกระนั้นทุกๆ คนในชุมชนต่างก็รู้ดีว่าสุขภาพนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต ดังนั้นโครงการนี้จึงมีขึ้นเพื่อชักชวนให้บุคคลต่างๆ ในละแวกบ้านเดียวกันได้หันกลับมามองเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกายมากขึ้น โดยการจัดตั้งเวทีแอโรบิกเพื่อสุขภาพเป็นประจำสัปดาห์ละ 3 วัน และรำไทเก็กสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่สนใจสัปดาห์ละ 1 วัน เพื่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายที่ดีของบุคคลในชุมชน โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลในชุมชนทุกเพศทุกวัยได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

3.จุดประสงค์
1. เพื่อให้คนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชน
3. เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจที่ดี
4. เพื่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน
5. เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
6. เป็นการปลูกฝังให้เห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย

4.กลุ่มเป้าหมาย
บุคคนในชุมชนทุกเพศทุกวัย

5.วิธีดำเนินการ
1. จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินงานต่างๆ
2. วางแผน และจัดสรรสถานที่ วัน เวลาที่เหมาะสม
3. ว่าจ้างครูสอนเต้นแอโรบิก และรำไทเก๊ก
4. จัดตั้งเวที และสรรหาอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ เช่น เครื่องเสียง
5. ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ทุกๆ คนในชุมชนทราบถึงโครงการร่วมใจเต้นเน้นสุขภาพ
6. รณรงค์ให้ทุกๆ คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการออกกำลังกายร่วมกัน

6. ระยะเวลาดำเนินการ
                1 เดือน และประเมินผลการตอบรับจากบุคคลในชุมชนและผลที่คาดว่าจะได้รับ หากถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็จะมีการดำเนินการและพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้น

7.สถานที่ดำเนินการ
            สวนสาธารณะในชุมชน
               
8.งบประมาณ
ค่าจ้างครูสอนเต้นแอโรบิก 3,600 บาท
ค่าจ้างครูสอนรำไทเก๊ก 1,200 บาท
ค่าอุปรกรณ์ต่างเช่น เวที และเครื่องเสียง 3,000 บาท
ค่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 300 บาท

9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1. คนในชุมชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและมาร่วมกิจกรรม
                2. คนในชุมชนมีความสนิทสนมกลมเกลียวกันมากขึ้น
                3. คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น

10.ผู้รับผิดชอบโครงการ
                นางสาวณัฐมนฑ์ สัมพัฒนวรชัย ม.6/1 เลขที่ 17