วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคที่เกิดจากพฤติกรรมบุคคล

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder)


เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง(anxiety)ที่มีลักษณะความคิดและการกระทำที่ซ้ำๆ ซึ่งไม่มีเหตุผลและทำให้เกิดความตึงเครียดแก่ผู้ป่วย อาการที่เกิดมีตั้งแต่เป็นน้อยๆจนกระทั่งรุนแรง หากไม่รักษาอาจจะทำให้สูญเสียความสามารถทางด้านการเรียน การงาน หรือแม้กระทั่งอยู่ที่บ้าน อาการเหล่านี้อาจจะเป็นตลอดชีวิต โรคนี้จะเริ่มเป็นตอนวัยรุ่นแต่ก็พบว่าผู้ป่วยหนึ่งในสามเป็นตั้งแต่วัยเด็ก

อาการที่สำคัญประกอบด้วย
Obsessive
เป็นความคิดหรือแรงผลักดัน หรือภาพที่จะกระทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ป่วยและเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยมักจะพยายามหยุดความคิดเหล่านี้ ผู้ป่วยมักจะมีความกลัวอันตรายที่จะเกิดกับตัวเองหรือคนรัก ความคิดว่ามีความสกปรกของอวัยวะ ความคิดที่จะต้องทำให้สมบูรณ์ ผู้ป่วยมักจะมีความคิดว่ามือสกปรกต้องล้างมือบ่อยๆ ผู้ป่วยมักคิดว่าลืมปิดก๊าซ หรือมีความคิดว่ากำลังจะทำร้ายลูก ความคิดที่ซ้ำๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาเองโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถหยุดความคิดเหล่านี้ได้ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก
Compulsion
เป็นพฤติกรรมที่กระทำซ้ำๆอันเนื่องจากแนวความคิดข้างต้น ลักษณะที่พบบ่อยคือการล้างมือและการตรวจของ การสวดมนต์ซ้ำๆ การนับ การทำแบบซ้ำๆ การจัดเรียงวัตถุ การพูดประโยคซ้ำๆ พฤติกรรมของผู้ป่วยส่วนใหญ่เพื่อป้องกันอันตราย ขณะที่ไม่มีอาการผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้ว่าความคิดและพฤติกรรมกระทำซ้ำๆไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยมักจะพยายามที่จะสะกดความคิดและการกระทำที่ซ้ำๆ หลายคนก็ประสบผลสำเร็จในการควบคุมอาการในระหว่างทำงาน แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถสะกดความคิดและการกระทำ ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ทำซ้ำซากและเป็นมากขึ้นเรื่อยจนไม่สามารถที่จะทำงานได้ผู้ป่วยมักจะพยายามสะกดอาการแทนที่จะปรึกษาแพทย์ ในระยะแรกมักจะประสบผลสำเร็จ ผู้ป่วยสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการทำงานและอยู่ร่วมกับครอบครัวโดยที่ไม่ได้รับการรักษา

สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจจะเกิดจากการทำงานของเซลล์สมองที่ผิดปกติโดยพบว่ามีเซลล์สมองน้อยกว่าคนปกติในสมองบางส่วน หรือเกิดจากการหลั่งสารบางอย่างผิดปกติโดยเฉพาะ serotonin และขบวนการเรียนรู้

การรักษา
การรักษามีทั้งการใช้ยารับประทานและการใช้พฤติกรรมบำบัด ผลการรักษาขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน ยาที่ใช้รักษาได้แก่ยาในกลุ่มยาต้านการจับตัวของ serotonin [serotonin reuptake inhibitors] เช่น tricyclic antidepressant clomipramine, flouxetine, fluvoxamine, paroxetine, sertraline หลังให้ยาจะเริ่มดีขึ้นในสามสัปดาห์
พฤติกรรมบำบัด จะช่วยผู้ป่วยลดความวิตกกังวลวิธีการจะให้ผู้ป่วยประสบกับสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวที่สุด(exposure) ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุ จินตนาการหรือภาพ และห้ามผู้ป่วยมีพฤติกรมซ้ำซาก(response prevention) เราเรียกวิธีการนี้ว่า exposure and response prevention เช่นผู้ป่วยอยากล้างมือแนะนำให้รออีก 3-4 ชั่วโมงค่อยล้างมือโดยมีผู้ช่วยเหลือซึ่งอาจจะเป็นคนที่ผู้ป่วยเชื่อฟังหรือนักจิตวิทยา พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 76 จะมีอาการดีขึ้นตั้งแต่ 3 เดือนถึง 6 ปี

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย
  • หากรับประทานยาต้องรับยาให้สม่ำเสมอ
  • หากอยู่ในช่วงพฤติกรรมบำบัดก็ให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
  • หลับให้พอ
  • อาจจะเข้ากลุ่มโรคนี้เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา
  • สอนครอบครัวให้เข้าใจโรค
นางสาวณัฐมนฑ์ สัมพัฒนวรชัย ม.6/1 เลขที่ 16 

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายกันเถอะ


        ในอดีตคนเรามักจะเห็นถึงความสำคัญของการใส่ใจและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงก็เมื่อตอนที่เจ็บไข้ได้ป่วยแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างยากลำบาก บางครั้งอาจสายเกินแก้และเป็นอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันแพทย์จากหลายสถาบันจึงได้มีการรณรงค์การแพทย์แผนใหม่ซึ่งเน้นหลัก กันไว้ดีกว่าแก้ รณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลรอบข้างเป็นประจำ โดยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการติดโรคและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายจึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญซึ่งช่วยสร้างเสริมและคงไว้ซึ่งสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนโลหิต รวมทั้งสร้างเสริมทักษะทางกีฬา การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันและช่วยป้องกันโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายเมื่อเราอ่อนแอ เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน และโรคอ้วน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยสร้างเสริมสุขภาพจิตและลดความเครียดอีกด้วยได้
ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ผู้หญิง ผู้ชาย หรือเพศที่สามทุกคนล้วนต้องการการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการออกกำลังกายนั้นสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ทำให้เราสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมและสะดวกกับเราได้ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาที่สามารถเล่นคนเดียวอย่างการวิ่ง กระโดดเชือก ว่ายน้ำ กีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมอย่างบาสเก็ตบอลและฟุตบอล หรือแม้แต่การออกกำลังกายในฟิตเนสซึ่งเป็นที่นิยมของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ก็ล้วนเป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราทั้งสิ้น หากคนเราไม่ออกกำลังกาย ร่างกายก็จะอ่อนแอเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้ง่าย รวมทั้งการสะสมของไขมันส่วนเกินจากอาหารที่พวกเราบริโภคเข้าไปทุกวัน ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียบุคคลิกภาพจากหุ่นที่ไม่ดีแล้ว ยังก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจจากการที่คอเลสเตอรอลเข้าไปอุดตันในเส้นเลือดอีกด้วย
ทุกๆ คนรู้ดีกันอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายจะทำให้สมองของเราปลอดโปร่ง จิตใจแจ่มใส และสุขภาพร่างกายแข็งแรง แล้วยังมีเหตุผลอันใดที่จะรั้งไว้ไม้ให้พวกเราออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นเริ่มจากวันนี้เป็นต้นไป มาออกกำลังกายด้วยกันเถอะพวกเรา !


นางสาวณัฐมนฑ์ สัมพัฒนวรชัย ม. 6/1 เลขที่ 16

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาและการแพทย์แผนไทย

ภูมิปัญญาไทย
         หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ศึกษา เก็บรวบรวมความรู้และจัดเป็นองค์ความรู้ ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลดีงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย



ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
         ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
         
1. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความเชื่อ (Belief) และพฤติกรรม (Behavior)
         2. ภูมิปัญญาไทย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
         3. ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
         4. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน
และสังคม
         5. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
         6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
         7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา



ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
          คุณค่าของภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากบรรพบุรุษุที่ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้ชาติบ้านเมือง มีการดำรงชีวิตที่อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจเพื่อสืบสานไปสู่อานาคต สรุปความสำคัญได้ดังนี้
        1. สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน
        
2. สร้างความภาคภูมิใจ ละเกียรติภูมิศักดิ์ศรีของความเป็นไทย เช่น
  •  มวยไทย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ปัจจุบันมีค่ายมวยอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก 
  •  ภาษาและวรรณกรรม ช่ไทยมีภาษาผูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง วรรณกรรมเป็นที่รู้จักมีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ สุนทรภู่เป็นนักปราชญ์ทางวรรณกรรมบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งประชาชาติ (ยูเนสโก) เป็นกวีเอกของโลก
  • อาหารไทย เป็นอาหารที่ชาวต่างชาติชื่นชอบและรู้จักกันแพร่หลาย อาทิเช่น ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ เป็นต้น
  • สมุนไพรไทย เป็นที่รู้จักและยอมรับจากนานาประเทศ จนบาง ประเทศนำสมุนไพรไทยไปจดเป็นลิขสิทธิ์ของตนเอง
         3. การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตอย่างเหมาะสม ทำให้รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน ให้อภัยกัน
         4. การนำธรรมชาติมาใช้ในการดำรงค์ชีวิต เช่น อาหารไทย มักเป็นอาาหาร หวาน มันมีกะทิเป็นส่วนประกอบ หากรับประทานมากก็จะทำให้เกิดท้องอืดได้ ดังนั้น จึงมีการนำพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกูดมาใส่เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
       5. การพัฒนาชีวิตให้เหมาะสมกับยุคสมัย      


ความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
          ทุกชุมชนมีวิถีการดำรงชีวิตเป็นของตนเอง และมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีภูมปัญญาที่แตกต่างกันออกไปโดยภูมิปัญญาเหล่านั้นได้ผ่านการลองผิดลองถูก และกลายมาเป็นภูมิปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือ การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อยเป็นต้น ดังนั้นภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพใน
เรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาอาการเจ็บป่วย การป้องกันโรค และการเสริมสร้างสุขภาพ


ภูมิปัญญากับการแพทย์แผนไทย
         
การแพทย์แผนไทย หรือมักเป็นที่รู้จักกันว่า การแพทย์แผนโบราณ เป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากวัฒนธรรมอินเดีย พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเองโดยครูการแพทย์แผนไทย คือ ชีวกโกมารภัจจ์ และอาจหมายถึง กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และหมายความรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา
        
ประวัติการแพทย์แผนไทย พอสรุปเป็นลำดับได้ดังนี้
         - สมัยอยุธยา การแพทย์แผนไทยเริ่มในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีการรวบรวมตำรับยาขึ้นเป็นครั้งแรก
         - สมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้มีการรวบรวมและ จารึกตำรายา ตำราการนวดตามศาลาราย มีรูปฤาษีดัดตนในบริเวณวัด
         - พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระบรมราชโชองการให้ผู้มีความรู้เรื่องสรรพคุณยา และผู้ชำนาญการรักษาโรค และผู้มีตำรายาเข้ามาถวาย โดยให้หมอหลวงพิจารณาคัดเลือก
         - พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือ โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
         

แนวทางการปฏิบัติตามแบบแผนภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์ มีอยู่ 3 แนวทาง คือ
         1. ภูมิปัญญาด้านเภสัช
         2. ภูมิปัญญาด้านเวชกรรมไทย
         3. ภูมิปัญญาด้านการนวดแผนโบราณ



การใช้สมุนไพรไทย
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้มีความสนใจในเรื่องสมุนไพร มีการฟื้นฟู ส่งเสริมและศึกษา การผลิตยาแผนไทยเพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการรักษาโรคแผนปัจจุบัน โดยศึกษา ค้นคว้า  อาศัยเทคโนโลยีทั้งเก่าและใหม่ ผสมผสานกันไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะนำศักยภาพและความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร  ที่มีสรรพคุณการรักษาโรคที่ชัดเจน ปลอดภัย ใช้ประโยชน์ได้จริง ออกเผยแพร่เพื่อการอยู่ดีมีสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ของประชาชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ทางโรงพยาบาลผลิตจำหน่ายจะอยู่ในรูปของแคปซูล ครีม ยาชง ยาหม่อง  มีดังต่อไปนี้ ยาหม่องน้ำกลิ่นมะกรูด น้ำหอมไล่ยุงธรรมชาติตะไคร้หอม น้ำยากันยุงตะไคร้หอม เถาวัลย์เปรียงแคปซูล ครีมไพล ยาชงหญ้าหนวดแมว เสลดพังพอนคาลาไมน์ ฟ้าทะลายโจรแคปซูล เสลดพังพอนคาลาไมน์ เพชรสังฆาตแคปซูล บอระเพ็ดแคปซูล แชมพูขิง ครีมนวดผมดอกอัญชัน สบู่เปลือกมังคุด สบู่ขมิ้นชัน ฯลฯ


หัตถบำบัด - การนวดไทย
อาจกล่าวได้ว่าปราจีนบุรีเป็นจังหวัดแรกและจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ให้บริการด้านการแพทย์ แผนไทยอย่างต่อเนื่องและจริงจัง นอกจากนำสมุนไพรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ แล้ว โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรยังได้จัดโครงการฟื้นฟูการนวดไทย โดยมีทั้งหัตถบำบัด(การนวดแบบไทย) การประคบ ด้วยสมุนไพร และการอบสมุนไพรไว้บริการอีกด้วย นอกจากนี้ที่โรงพยาบาลประจันตคาม โรงพยาบาลกบินทร์บุรี และโรงพยาบาลนาดี ก็ได้ให้บริการนวด อบ และประคบด้วยสมุนไพรด้วยเช่นกัน


การประคบสมุนไพร
การประคบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนไทยซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กับการนวดไทย โดยการประคบหลังจากการนวดไทย ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือบริเวณข้อต่อต่างๆ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดคลายตัว ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบ


การอบสมุนไพร
การอบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัด และบรรเทาอาการของโรคของการแพทย์แผนไทย โรคหรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาได้ด้วยการอบสมุนไพร มีดังนี้ โรคภูมิแพ้ที่ไม่รุนแรง ความดันโลหิตสูง เป็นหวัดเรื้อรัง อัมพฤกษ์ - อัมพาต ในระยะเริ่มแรก ปวดเมื่อยตามร่างกายทั่วๆ ไป กรณีที่มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดร่วมด้วย ไม่ควรทำการอบสมุนไพร