วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อ

1.1         ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
        หลักการคิดที่ว่าการดูแลสุขภาพคือการเยียวยารักษาเมื่อร่างกายเกิดการเจ็บป่วย นั้นนับว่าไม่ถูกต้อง ในปัจจุบันจึงมีแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนมาเน้นการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันก่อนที่จะเจ็บป่วย มีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล                                           5. ทำจิตใจให้ร่างเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
2. บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม                   6. หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ                                            7.  ตรวจเช็คร่างกาย
4.
พักผ่อนให้เพียงพอ

1.2 ระบบประสาท(Nervous System): ประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน รวมถึงความนึกคิด อารมณ์และความทรงจำต่างๆ
1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาท
                1. ระบบประสาทส่วนกลาง(Central Nervous System) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
                สมอง
(Brain)  แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์ แมตเตอร์ เป็นที่รวมของเซลล์ประสาทและแอกซอนชนิดไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาว เรียกไวท์ แมตเตอร์ เป็นส่วนของใยประสาท สมองในทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมระบบประสาทและอวัยวะทั้งหมด
                สมองแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนท้าย
               
- สมองส่วนหน้า(forebrain)
                                 - ซีรีบรัม: ความทรงจำ ความนึกคิด ไหวพริบและความรู้สึกผิดชอบ รวมถึงการทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ
                                - ทาลามัส: สถานีถ่ายทอดกระแสประสาทรับความรู้สึกเข้าสู่ซีรีบรัม
                               
- ไฮโพทาลามัส: ควบคุมอุณหภูมิ การเต้นของหัวใจ ความหิว การนอนหลับ ฯลฯ รวมทั้งอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ
               
- สมองส่วนกลาง(midbrain): ควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
               
- สมองส่วนท้าย(hindbrain)
                                - ซีรีเบลลัม: ควบคุมระบบกล้ามเนื้อ การทรงตัว
                               
- พอนส์: ควบคุมการเคี้ยวอาหาร การกลืนน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า และการหายใจ
                               
- เมดัลลา ออบบลองกาต้า: ควบคุมระบบประสาทอัตโนวัติ เช่นการเต้นของหัวใจ การหมุนเวียนเลือด การกลืน การจาม
                ไขสันหลัง(Spinal Cord) มีความยาวเริ่มจากกระดูกสันหลังข้อแรกไปจนถึงกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 มีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย ไขสันหลังมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้นที่มีของเหลวบรรจุอยู่ ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆ ไปยังสมอง และรับคำสั่งจากสมองไปยังส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกริยารีเฟลกซ์(reflex reaction) อีกด้วย
                2. ระบบประสาทส่วนปลาย(Peripheral Nervous System) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลังและประสาทอัตโนมัติ ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางและไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลังประกอบด้วยใยประสาทรับ และ ใยประสาทที่นำคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลายต่างๆ ทำให้เราสามารถแสดงอิริยาบถต่างๆ ได้
                3. ระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic Nervous System) ควบคุมการทำงานนอกอำนาจจิตใจ ศูนย์กลางอยู่ในก้านสมองและไฮโปทาลามัส ทำงานโดยการประสานของเส้นประสาทคู่หนึ่งซึ่งประสานงานอย่างใกล้ชิดกับระบบต่อมไร้ท่อ
               
1.2.2. การทำงานของระบบประสาท: ทำงานประสานกับระบบกล้ามเนื้อ
               
1.2.3. การบำรุงรักษาระบบประสาท
               
- ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนศีรษะ                 
               
- ระวังไม่ให้เกิดโรคทางสมอง                                      
               
- หลีกเลี่ยงยาต่างๆ ที่มีผลต่อสมอง
                พยายามคลายความเครียด
                - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะวิตามิน B1

1.3 ระบบสืบพันธุ์(Reproductive System): เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ ทดแทนรุ่นเก่าที่ตายไป
1.3.1 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
                ประกอบด้วยอัณฑะ
(Testis), ถุงหุ้มอัณฑะ(Scrotum), หลอดเก็บตัวอสุจิ(Epididymis), หลอดนำตัวอสุจิ(Vas Deferens), ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจ(Seminal Vesicle), ต่อมลูกหมาก(Prostate Gland) และต่อมคาวเปอร์(Cowper’s Gland) ผู้ชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิเมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี การหลั่งแต่ละครั้งจะมีตัวอสุจิประมาณ 350-500 ล้านตัว และสามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 24-48 ชั่วโมงในมดลูก อสุจิประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนหัวบรรจุนิวเคลียส ส่วนร่างกาย และส่วนหางซึ่งใช้ในการเคลื่อนที่
1.3.2 อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
                ประกอบด้วย รังไข่
(Ovary), ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก(Oviduct or Fallopian Tube), มดลูก(Uterus)และ ช่องคลอด(Vagina) ส่วนการตกไข่(Ovulation) คือการที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู้ท่อนำไข่ ถ้าประจำเดือนมาวันที่ 1 การตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 13-15 และการมีประจำเดือน(Menstruation) เกิดจากการที่ผนังมดลูกลอกตัวเมื่อไม่ได้รับการผสม
1.3.3 การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
                1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ                    
               
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ                                  
                3. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์              
               
4. พักผ่อนให้เพียงพอ                                                
               
5. ทำความสะอาดร่างกายวันละ 2 ครั้ง
                6. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับ ไม่รัดแน่น
               7. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
               8. ไม่สำส่อนทางเพศ
               9. เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใดๆ เกี่ยวกับอวัยวะเพศ

1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ(Endocrine System): ผลิตฮอร์โมน
1.4.1 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย ได้แก่
                1. ต่อมใต้สมอง(Pituitary Gland): เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่แบ่งออกเป็นต่อมใต้สมองส่วนหน้า และต่อมใต้สมองส่วนหลัง
                2. ต่อมหมวกไต(Adrenal Gland): แบ่งออกเป็นต่อมหมวกไตชั้นใน และต่อมหมวกไตชั้นนอก
                3. ต่อมไทรอยด์(Thyroid Gland): หลั่งไทรอกซิน (Thyroxin)
                4. ต่อมพาราไทรอยด์(Parathyroid Gland): คสบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือดและรักษาสภาพกรด-ด่าง
                5. ต่อมในตับอ่อน(Islets of Langerhans): สร้างอินซูลินซึ่งสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากขาดจะเป็นเบาหวาน
                6. รังไข่ใน(Ovary)เพศหญิง และอัณฑะ(Testis)ในเพศชาย: ผลิตฮอร์โมนเพศ
                7. ต่อมไทมัส(Thymus Gland): ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
1.4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
1. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่                                                  4. งดดื่มแอลกอฮอล์
2. ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน                                                         5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ                                            6. พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์


นางสาวณัฐมนฑ์ สัมพัฒนวรชัย ห้องม.6/1 เลขที่ 17


วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทดลองใช้บล็อกครั้งแรกในชีวิต =[]=

เอ่ออ มันใช้ยังไงหว่า
เพราะอาจารย์แท้ๆเลยต้องมานั่งทำอะไรอย่างนี้ :(
ลองทำเล่นไปงั้นอ่ะ งานก็ยังไม่เสร็จ มีแต่บล็อกไม่มีงานให้อัพ
55555555

บ้าไปแล้วววววว :O